blue light แสงสีฟ้าในหลอดไฟ คืออะไร ทำไมถึงอันตราย แล้วเทคโนโลยีในหลอดไฟ LED มีแสงสีฟ้าหรือไม่ บทความนี้จะรวบรวม คำตอบและมีรายละเอียดเก่ียวกับอันตรายอย่างไร
blue light แสงสีฟ้า คืออะไร
แสงสีฟ้า Blue Light Hazard คือ แสงสีฟ้าที่อาศัยอยู่รอบตัวเรา เช่น ดวงอาทิตย์ หลอดไฟ คอมพิวเตอร์ Taplet มือถือ โดยแสงสีฟ้าเป็นแสงในกลุ่มพลังงานสูง HEV (High Energy Visible) ซึ่งเป็นกลุ่มแสงที่อยู่ถัดจากกลุ่มแสง UVA สามารถพุ่งทะลุทะลวงเข้าจอประสาทตาหากโดนเข้าเป็นระยะเวลานานจะทำให้จอประสาทตาเสื่อม ว่ากันว่าพวกหลอด Fluorescent ชนิดกลมนั้นปล่อยแสงสีฟ้าในปริมาณสูงอีกด้วย
แสงอาทิตย์ประกอบด้วยรังสีแสงสีแดง สีส้ม สีเหลือง สีเขียว และสีน้ำเงิน และเฉดสีหลายสีของแต่ละสี ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับพลังงานและความยาวคลื่นของรังสีแต่ละชนิด (เรียกอีกอย่างว่ารังสีแม่เหล็กไฟฟ้า) เมื่อรวมกันแล้วสเปกตรัมของแสงสีนี้จะสร้างสิ่งที่เราเรียกว่า”แสงสีขาว” หรือแสงแดด
blue light แสงสีฟ้า มีกี่ประเภท
แสงสีฟ้าแบ่งเป็นสองชนิดคือ
1. แสงสีฟ้าที่มีประโยชน์ Blue-Turquoise แสงนี้จะมาจากช่วงพระอาทิตย์ขึ้นตอนเช้า ช่วยให้ร่างกายตื่นตัว หรือช่วยปลุกเราในตอนเช้า
2. แสงสีฟ้าที่ไม่มีประโยชน์ Blue-Violet แสงชนิดนี้มีพลังงานสูงมันจะพุ่งทะลุทะลวงเข้าจอประสาทตาทำให้จอประสาทตาค่อย ๆ เสื่อม หากได้รับเกินไปร่างกายจะไม่สร้าง Melatonin ซึ่งก็คือสารที่ช่วยให้เรานอนหลับ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคร้ายต่าง ๆตามมาได้
ย้อนเวลากลับไปนั่งอยู่ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์สมัยมัธยมเรียนรู้เรื่องแสงที่เป็นมิตรต่อดวงตาของเรา แสงขาว (Visible light) ที่มีแหลงที่มาจากดวงอาทิตย์องค์ประกอบของแสงขาว คือแถบสีต่างๆ 7 สีเรียงติดกัน (สีแดง ม่วง ส้ม เหลือง น้ำเงิน คราม และเขียว) ที่เราเรียกว่าสเปกตรัม แสงสีฟ้า (Blue Light) เป็นสีที่ให้ความสว่างมากที่สุดขณะเดียวกันก็ทำให้ดวงตาเป็นอันตรายได้มากที่สุดด้วย
หลอดไฟ LED VS แสงสีฟ้า เลือกที่ผ่านมาตรฐานดังนี้
อย่างไรก็ตามเราในชีวิตประจำวันเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงแสงเหล่านี้ได้ แต่เราสามารถเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน ผ่านการรับรองจากสถาบันที่มีความน่าเชื่อถืออย่าง ผ่านมาตรฐาน มอก. และมาตรฐานการทดสอบสมรรถนะ LM79 LM80+ TM21 จากห้อง Lab ชั้นนำของรัฐ
เช่น สถาบันไฟฟ้าและอิเลคโทรนิค (THAIEEI)ที่ผ่านการทดสอบทั้ง มอก. ,ประหยัดไฟเบอร์ 5,ป้องกันไฟกระพริบ,ป้องกันไฟกระชาก เเละอื่นๆอีกมากมาย
LM-79 คืออะไร?
LM-79 หมายถึง รายงานการทดสอบวัดค่าการส่องสว่าง การกระจายความเข้มของแสง และคุณสมบัติของอุณหภูมิแสง ผลการทดสอบการกระจายแสงและความเข้มของแสงตามมาตรฐาน LM-79 จะแสดงในรูปแบบกราฟ TUBULAR , POLAR ผลการทดสอบ ด้านอุณหภูมิของแสง แสดงผล ในรูปของกราฟ ที่เรียกว่า SPECTRUM POWER DISTRIBUTION (SPD) สามารถประเมินปริมาณแสง ที่ความยาวคลื่น (ในหน่วยของ MILLIWATT PER NANOMETER หรือ mW/nm)
ตัวอย่างคุณสมบัติหลอดไฟ led t8 ที่ผ่านมาตรฐาน
- แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ 28-36W แต่ให้แสงสว่างมาก กว่า 30-40%
- เต็มประสิทธิภาพความคุ้มค่า ประหยัดไฟกว่า 70%
- ตัวประกอบกำลัง (PF) > 0.95
- มีค่าความสว่าง lumen ที่สูงกว่ามาก ตั้งแต่ 2100-3200 lumen
- รองรับการใช้งานหนัก เปิดต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง
- ผ่านการรับรองสินค้าประหยัดไฟ เบอร์ 5 สูงสุดถึง 3 ดาว จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- อายุการใช้งาน LED chip ยาวนานกว่า 50,000 ชั่วโมง
- คืนทุนไวเพียงแค่ 5 เดือน*
- มีวงจรกันไฟกระชาก(Surge protection) สูงถึง 2000v เพื่อความคงทนและความสบายใจในการใช้งาน
- ผ่านมาตรฐานอัตรายจากแสงสีฟ้า Bluelight Hazard ระดับสูงสุด เป็นมิตรต่อสายตา ลดการเมื่อยล้าจากการทำงาน
- มีผลทดสอบจากสถาบันของรัฐเพื่อยืนยันคุณภาพระดับสูงสุด LM79,LM80 & TM21 และมาตรฐานระดับสูง เช่น
- IEC61547:2009, IEC62776:2014, EN55015:2013 และผลทดสอบระดับสูงอื่นๆ
รับประกันยาวนานถึง 3 ปี
ข้อแนะนำเกี่ยวกับแสงสีฟ้า
1. แนะนำสูตรการใช้สายตาระหว่างใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ คือ 20-20-20 แปลว่า ทุก ๆ 20 นาที ของการใช้สายตามองใกล้ ต้องหยุดพัก 20 วินาที โดยการหยุดพัก หมายถึงการมองออกไปไกล ๆ อย่างน้อย 20 ฟุต ก็จะช่วยลดการเพ่งของดวงตาได้
2. ปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับดวงตา เช่น ห้องที่เราจะใช้สายตานั้น ไม่ควรจะสว่างหรือมืดจนเกินไป ยกตัวอย่างเช่น การปิดไฟเล่นโทรศัพท์มือถือ จะเป็นอันตรายต่อดวงตามากกว่าการเล่นในห้องที่เปิดไฟ เพราะในช่วงที่ห้องมืด ม่านตาเราจะขยาย ทำให้แสงเข้าสู่ดวงตามากเกินจำเป็น
3. เราไม่ควรนั่งใช้สายตาอยู่ในพื้นที่ที่ลมพัดแรง พัดลมเป่า หรือลมแอร์เป่า จะทำให้เกิดอาการตาแห้ง และทำให้เกิดอาการล้าและเมื่อยดวงตาได้ง่าย
4. ควรตรวจสุขภาพดวงตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป เป็นช่วงที่มีความเสื่อมของร่างกาย เสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจก ต้อหิน และจอประสาทตาเสื่อม หรือในคนที่มีกรรมพันธุ์เกี่ยวกับโรคทางดวงตา หรือคนที่ป่วยเป็นโรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน หรือรับประทานยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียงต่อดวงตา ก็อาจจะต้องไปตรวจก่อนอายุ 40 ปี
ดวงตาเป็นอวัยะที่สำคัญและบอบบาง เราควรที่จะใช้มันอย่างถูกต้องและทะนุถนอม และหากมีปัญหาเกี่ยวกับดวงตาก็ควรรีบไปพบกับจักษุแพทย์เพื่อรักษาอย่างทันท่วงที
เครดิตจากเพจ
- https://โคมไฟอุตสาหกรรม.com/
- https://www.allaboutvision.com
- https://tu.ac.th/
- https://www.ledinfinite.com/
บทความแนะนำความรู้ เกี่ยวกับหลอดไฟ LED วัตต์คืออะไร