ไฟตก ไฟกระชาก คืออะไร Surge Protection สำคัญอย่างไร

ไฟตก ไฟกระชาก

ไฟตก และ ไฟกระชาก นั้นเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พบได้และส่งผลทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย หรือทำให้ประสิทธิภาพลดลงได้ บางครั้งโคมไฟถนนที่อยู่ตามที่โล่งเมื่อเวลาฝนตกฟ้าร้อง หรือ ฟ้าผ่าบริเวณใกล้เคียง ย่อมเสี่ยงต่อ ไฟกระชากได้ จำเป็นอย่างย่ิงต้องมี Surge Protection ในการป้องกันเบื้องต้น ถึงแม้จะไม่ครอบคลุมร้อยเปอร์เซนต์ แต่สามารถช่วยได้ในขั้นต้นได้เยอะพอสมควร

ไฟกระชาก คืออะไร

ไฟกระชาก (Surge) คือ สภาวะไฟเกินแบบเฉียบพลันในระบบไฟฟ้า หรือหมายถึงไฟฟ้าเกิน 220 โวลต์เฉียบพลัน ส่งผลให้อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่กำลังใช้งานอยู่ได้รับความเสียหายทันทีจากไฟกระชาก หรือทำให้ประสิทธิภาพของอุปกรณไฟฟ้าเสื่อมลงจากเดิม ซึ่งความรุนแรงอาจแตกต่างกันออกไป แต่เราไม่ได้สังเกตอะไร จนกระทั่งอุปกรณ์ไฟฟ้าได้รับความเสียหาย

ไฟกระชากแบบช่วงสั้น (Transient)
ไฟกระชากแบบช่วงสั้น เป็นประเภทที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าเป็นสภาวะไฟกระชาก เกิดจากการที่มีไฟฟ้าเกินเข้ามาในระบบไฟฟ้าแบบเฉียบพลัน ซึ่งอาจมีค่าที่สูงมากกว่า 1,000 โวลต์ขึ้นไป แต่ระยะในการเกิดสภาวะไฟกระชากแบบนี้จะสั้นมาก ไฟกระชากประเภทนี้จึงไม่ค่อยส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป เพราะในตัวครื่องใช้ไฟฟ้าจะมีตัวระบบป้องกันไฟกระชากในลักษณะนี้ติดตั้งอยู่ภายใน อุปกรณ์จึงได้รับความปลอดภัยจากไฟกระชากแบบช่วงสั้น

ไฟกระชากแบบช่วงยาว (Temporary Over Voltages)
ไฟกระชากแบบช่วงยาว เป็นประเภทที่หลายคนอาจไม่ค่อยได้พบเจอ เพราะเป็นสภาวะไฟเกินเข้าในระบบไฟฟ้าเฉียบพลัน โดยค่าการเกิดไฟอาจต่ำกว่า 1,000 โวลท์ แต่ระยะในการเกิดยาวนานกว่าแบบแรก ซึ่งไฟกระชากประเภทนี้ถือว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย ถึงแม้ว่ามีค่าโวลต์ต่ำกว่าการเกิดไฟกระชากแบบช่วงสั้น แต่ระยะเวลาที่เกิดนานกว่ามาก จึงมีพลังงานสะสมมากพอที่จะทำให้อุปกรณ์เสียหายได้

อาการไฟตก เกิดขึ้นเมื่อมีแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่า 220V ในช่วงเวลาหนึ่งอย่างรวดเร็ว ทำให้มีแรงดันไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าหยุดทำงานในระยะเวลาสั้น ๆ หรือไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น หลอดไฟอาจมีการกระพริบหรือลดความสว่างลง หรือพัดลมที่หมุนช้าลง

อาการไฟกระชาก เกิดขึ้นเมื่อมีแรงดันไฟฟ้านั้นขาด ๆ เกิน ๆ จาก 220V ในช่วงเวลาหนึ่งอย่างรวดเร็ว ซึ่งแรงดันไฟฟ้าที่ไม่เสถียรและกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วนี้อาจสร้างความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังทำงานอยู่ โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของแรงดันเกินหรือมีความคงทนต่ำ ซึ่งหากไม่มีการป้องกันหรือแก้ไข อาจส่งผลให้วงจรไฟฟ้ามีปัญหารุนแรงและนำไปสู่สาเหตุของเพลิงไหม้ได้

โดยสาเหตุของการเกิดไฟตกและไฟกระชากอาจเกิดได้จากหลายปัจจัยคล้ายกัน เช่น ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติอย่างฟ้าผ่า หรือการวางระบบไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน สายไฟชำรุดทำให้เสียแรงดันไฟฟ้า สัญญาณรบกวนทางไฟฟ้า หรือการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอัตราการกินไฟในปริมาณมากพร้อมกัน เป็นต้น

 

Surge Protector  สามารถเรียกได้หลายชื่อไม่ว่าจะเป็นคำว่า Surge Protection Device (SPD), Surge Suppression Equipment (SSE) หรือ Transient Voltage Surge Suppressor (TVSS)

การป้องกันเบื้องต้นแนะนำเลยว่า ต้องดูว่ามี Surge Protection ไหม

หลักการทำงานทั่วไปของ Surge Protector
อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ ได้รับการออกแบบให้สามารถเหนี่ยวนำแรงดันไฟฟ้าที่สูงขึ้นในช่วงเวลาอันสั้นออกจากอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยสร้างแนวที่มีความต้านทานต่ำเชื่อมต่อไปสู่ตำแหน่งของสายดิน เพื่อให้แรงดันที่สูงขึ้นชั่วขณะไหลไปตามแนวความต้านทานต่ำไปยังสายดิน

Surge Protector ประกอบด้วย

การใช้อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะสำหรับแต่ละลักษณะการใช้งาน จะมีความแตกต่างกัน ดังนั้น ชิ้นส่วนที่ประกอบอยู่ภายในอุปกรณ์ก็จะแตกต่างกันด้วย แต่มีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกัน คือ เพื่อป้องกันแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ, เชื่อถือได้ และตอบสนองต่อพลังงานสูงได้อย่างรวดเร็วส่วนมากชิ้นส่วนที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์ฯ ที่พบ จะต้องมีหน้าที่ทำให้เกิดความต้านทานต่ำ เช่น MOV (Metal Oxide Varistor), Gas Discharge Tube (GDT) และ Silicon Avalanche Diode (SAD) ฯลฯ หรือรวมเอาชิ้นส่วนของอุปกรณ์เหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน

ประโยชน์ของ Surge Protector

อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ มีประโยชน์ในด้านการปกป้องอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคส์ ที่มีสาเหตุมาจากสภาวะ Transient และ Surge เช่น ปัญหาทางไฟฟ้าที่เกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า , ปัญหาที่เกิดจากระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าจากการไฟฟ้า, อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีการเหนี่ยวนำไฟฟ้าม สัญญาณรบกวนทางไฟฟ้า เป็นต้น

เครดิตเพจ

ไฟตก คือ

ไฟตก คือการที่แรงดันไฟฟ้าจ่ายไฟมาต่ำกว่าที่กำหนด ปกติแล้วตามครัวเรือน หรือสถานที่โดยทั่วไปมักจะรับไฟฟ้าอยู่ที่ 220 โวลต์ (220V) โดยในกรณีที่เกิดไฟตกนั้น แสดงว่ากระแสไฟมีแรงดันที่ต่ำกว่า 220V ซึ่งจะทำให้อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เกิดความขัดข้องขึ้นได้

 

สาเหตุเบื้องต้น

1.ไฟตกทำให้กระแสไฟฟ้ากระชากในบ้าน

ไฟตกจากเหตุการณ์ไฟกระชากในบ้าน เกิดจากแรงดันไฟฟ้าขาดเสถียรภาพการใช้งานในช่วงเวลาหนึ่งอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ส่งแรงดันกระแสไฟฟ้าได้น้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดไฟกระตุกในบ้าน

2.ฝนตกหนัก พายุ ลมแรง ฟ้าผ่า ส่งผลให้ไฟตก

สาเหตุไฟตกจากภัยธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น ฝนตกหนักที่ทำให้ค่าความชื้นในอากาศเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ระบบไฟฟ้าไม่มีประสิทธิภาพ ฟ้าผ่าลงเสาไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร รวมถึงพายุ ลมแรงส่งผลให้ต้นไม้หรือใบไม้พาดสายไฟ ก่อให้เกิดแรงดันไฟฟ้าตกได้เช่นเดียวกัน

3.ตัวนำไฟฟ้าในบ้านขัดข้องทำให้แรงดันไฟฟ้าตก

ปกติแล้วตัวนำไฟฟ้าทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจ่ายกระแสไฟฟ้าภายในบ้าน ส่วนใหญ่ทองแดงจะถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของตัวนำไฟฟ้า เพราะมีค่าการนำไฟฟ้าสูงมาก แข็งแรง สามารถนำไปรีดเป็นเส้นลวดขนาดเล็กได้ดี หากภายในตัวนำไฟฟ้าเกิดการช็อตหรือบางส่วนขัดข้อง ส่งผลให้เกิดไฟตกภายในบ้านได้เช่นกัน

เครดิตเพจ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top