ค่าความสว่าง LUX คืออะไร
ค่าความสว่าง Lux คือค่าความเข้มของแสงสว่าง (Illuminance) บนหน้างานมีหน่วยเป็นลูเมนต่อตารางเมตร ซึ่งในกฎหมายแสงสว่างนั้นระบุค่าความต้องการแสงสว่างเป็นค่าเฉลี่ยของค่าลักซ์ในพื้นที่ต่างๆเพื่อให้ผู้ใช้งานพื้นที่นั้นๆ เกิดความปลอดภัยในการใช้งานมีการกำหนดค่าความสว่างดังนี้
(ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561)
ตารางที่ 1 มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณพื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิตภายในสถานประกอบกิจการ
- ลานจอดรถ ทางเดิน บันได : 50 ลักซ์
- ป้อมยาม : 50 ลักซ์
- ห้องน้ำ ห้องสุขา : 100 ลักซ์
- โรงอาหาร ห้องปรุงอาหาร : 100 ลักซ์
- ห้องฝึกอบรม ห้องบรรยาย : 300 ลักซ์
ตารางที่ 2 มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณที่ลูกจ้างต้องทางาน โดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน (โรงงาน พื้นที่การผลิต คลังสินค้า)
- คลังสินค้า (Warehouse) : 200 ลักซ์
- จุดขนถ่ายสินค้า : 200 ลักซ์
- โกดังเก็บของ : 200 ลักซ์
- ห้องควบคุม : 200 ลักซ์
- บริเวณเตรียมวัถุดิบ : 300 ลักซ์
- พื้นที่แพ๊คสินค้า : 300 ลักซ์
- บริเวณหน้างานผลิตงานหยาบ : 300 ลักซ์
- บริเวณหน้างานประกอบ การนับสินค้า : 300 ลักซ์
- ออฟฟิต ห้องทำงาน สำนักงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ : 500 ลักซ์
- งานประกอบรถยนต์และตัวถัง : 500 ลักซ์
- งานตรวจสอบแผ่นเหล็ก : 500 ลักซ์
มาตรฐานแสงสว่าง มีความสำคัญมากสำหรับสถานที่ประกอบการต่างๆ
ภายในสถานที่ประกอบการที่ให้ลูกจ้างทำงาน ดังต่อไปนี้
- งานที่ไม่ต้องการความละเอียด เช่น การขนย้าย การบรรจุ การบด การเกลี่ยวัตถุชนิดหยาบ เป็นต้น ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 50 ลักซ์
- งานที่ต้องการความละเอียดเล็กน้อย เช่น การผลิตหรือการประกอบชิ้นงานอย่างหยาบๆ การสีข้าว การสางฝ้าย หรือการปฏิบัติงานขั้นแรกในกระบวนการอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 100 ลักซ์
- ความสว่างที่ที่ให้ลูกจ้างคนใดคนหนึ่งทำงาน ดังต่อไปนี้
- งานที่ต้องการความละเอียดปานกลาง เช่น การเย็บผ้า การเย็บหนัง การประกอบภาชนะ เป็นต้น ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 200 ลักซ์
- งานที่ต้องการความละเอียดสูงกว่าที่กล่าวใน (7.2.1) แต่ไม่ถึง 7.2.3) เช่น การกลึงหรือแต่งโลหะ การซ่อมแซมเครื่องจักร การตรวจตราและทดสอบผลิตภัณฑ์ การตกแต่งหนังสัตว์และผ้าฝ้าย การทอผ้า เป็นต้น ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 300 ลักซ์
- งานที่ต้องการความละเอียดมากเป็นพิเศษ และต้องใช้เวลาทำงานนาน เช่น การประกอบเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก นาฬิกา การเจียระไนเพชร พลอย การเย็บผ้าที่มีสีมืดทึบ เป็นต้น ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 1,000 ลักซ์
- ถนนและทางเดินภายนอกอาคารในบริเวณสถานที่ประกอบการ ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 20 ลักซ์
- ในโกดังหรือห้องเก็บวัสดุ ทางเดิน เฉลียง และบันไดในบริเวณสถานที่ประกอบการต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 50 ลักซ์
- ให้นายจ้างป้องกันมิให้มีแสงตรงหรือแสงสะท้อนของดวงอาทิตย์หรือเครื่อง กำเนิดแสงที่มีแสงจ้าส่องเข้าตาลูกจ้างในขณะที่ทำงาน ในกรณีที่ไม่อาจป้องกันได้ให้นายจ้างจัดให้ ลูกจ้างซึ่งทำงานในลักษณะเช่นว่าสวมใส่แว่นตา หรือ กระบังหน้าลดแสง ตามมาตรฐานที่กำหนด ไว้ในหมวด 4 ตลอดเวลาที่ทำงาน
- ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทำงานในถ้ำ อุโมงค์ หรือในที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ สวมหมวกแข็งที่มีอุปกรณ์ส่องแสงสว่างตาม มาตรฐานแสงสว่าง ที่กำหนดไว้ในหมวด 4 ตลอดเวลาที่ทำงาน
ดังนั้นเหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๐๓ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานให้นายจ้างดำเนินการในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
- https://www.ledinfinite.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-lux-output%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%96%E0%B8%B9/
- https://chinpower.net/knowledge/lux-requirement-law2561/